top of page

กระดูกสันหลังคดกายภาพบำบัดอย่างไร รักษาหายได้ไหม



กระดูกสันหลังคด คืออะไร ?


กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งไปทางด้านซ้ายหรือขวามากเกินไป ทำให้ระดับหัวไหล่และสะโพกไม่เท่ากันทำให้ลำตัวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง โดยปกติกระดูกสันหลังจะโค้งงอไปด้านหน้าและด้านหลังเป็นแนวโค้งปกติของสรีระ หากมองด้านข้าง จะมีลักษณะเป็นเส้นตรง หากมองด้านหน้าและด้านหลัง คือแนวกระดูกสันหลังปกติ เมื่อมีภาวะกระดูกสันหลังคดมองด้านและหลังจะไม่เป็นเส้นตรงเกิดการผิดรูป


สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด


1. เกิดจากการเจริญเติบโตของระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อและกระดูกผิดปกติ

  • กระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ

  • โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น


2. เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ


โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ ได้แก่

  • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile Idiopathic Scoliosis) ก่อนอายุ 3 ปี

  • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 4 – 10 ปี

  • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 10 – 18 ปี พบมากที่สุด


3. โรคกระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional Scoliosis)

เกิดจากความผิดปกติตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อหดเกร็ง การบาดเจ็บ

4. โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis)

มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังที่ใช้งานเป็นเวลานาน


ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะกระดูกสันหลังคด ?


กระดูกสันหลังคดสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย บางรายอาจเกิดจากพันธุกรรมและเป็นตั้งแต่กำเนิด ปัจจุบันพบว่า ในช่วงวัยทำงานพบกระดูกสันหลังคดมากขึ้น เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ การใช้มือถือสมาร์ทโฟน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ออกกำลังกาย เกิดอาการปวดคอ ปวดหลัง เรื้อรังทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหลังสองข้างไม่สมดุลกัน




วิธีสังเกตง่าย ๆ ได้อย่าไรว่าเราเริ่มมีภาวะกระดูกสันหลังคด ?

  1. สังเกตความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก และระดับแนวกระดูกสะโพกของร่างกาย ซึ่งมักจะมีระดับสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ทดสอบโดยการยืนให้เท้าชิดกันและให้ก้มไปด้านหน้า ใช้มือทั้ง 2 ข้างแตะให้ถึงพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน

  2. ปวดบริเวณ หลังเอว คอ เรื้อรัง เนื่องจากกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน

  3. มีอาการเหนื่อยง่าย เนื่องจากกระดูกหน้าอกไปกดทับปอดมากกว่าปกติ

  4. หากมีอาการข้างต้น ควรเริ่มพิจารณา การกายภาพกระดูกสันหลังคด เบื้องต้นที่บ้าน หรือเข้ามาที่คลินิกเพื่อปรึกษานักกายภาพ


การรักษากระดูกสันหลังคดกายภาพบำบัด


นักกายภาพบำบัดจะตรวจภาวะกระดูกสันหลังเพื่อประเมินภาวะคดโค้งทั้งแนวกระดูกเพื่อวางแผนการรักษาฌพาะบุคคล เพราะความคดโค้งของแต่ละคนไม่เหมือนกัน


การรักษาทางกายภาพบำบัด กระดูกสันหลังคดเกิดจากกล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งทำงานไม่สมดุลกัน ดังนั้นการรักษาต้องฝึกกล้ามเนื้อให้กลับมาทำงานสมดุลกัน โดยเป็นการฝึกแบบRehab Exercise ในระยะแรกกล้ามเนื้อข้างใดที่ทำงานมากเกินไปและมีการตึงตัวจะเน้นออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ส่วนข้างที่อ่อนแรงหรือทำงานได้ไม่ดีจะเน้นออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในข้างนั้น เมื่อการทำงานของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้างเริ่มทำงานสมดุลกันในระยะต่อมาจะเริ่มฝึกความแข็งแรงและยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้มีการเรียนรู้การทำงานของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งแบบสมมาตรกัน และลดการปวดเมื่อยในระยะยาว โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด



เครื่องมือกายภาพบำบัดที่ใช้ปรับแนวกระดูกสันหลัง


เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Electrical Traction Therapy)


ช่วยยืดกล้ามเนื้อและลดการกดทับเส้นประสาทปรับแนวกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังให้อยู่ในแนวปกติ เพิ่มช่องว่างระหว่างแนวกระดูกสันหลัง


เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator)


เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังทั้งสองด้านให้ลดการหดสั้นและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในมัดที่อ่อนแรง ปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดสะบัก ปวดหลังและสะโพกได้


ปากกาไฟฟ้า (Point stimulator)


ปากกาไฟฟ้าช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกของแนวกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอหถึงส่วนหลัง

การสอนการจัดท่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่ง การนอน การทรงตัว


การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด


การออกกำลังกายด้วยวิธีเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคน

การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์


การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือมีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลางสวมเสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ที่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เกิดความคดงอมากขึ้น


การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) อาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงมักเกิดขึ้นตามระยะเวลาของอาการ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดการคดงอของกระดูกและป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ศัลยแพทย์จะยึดกระดูกชิ้นเล็ก ๆ เข้ากับแนวกระดูกสันหลัง โดยใช้ชิ้นส่วนกระดูกหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกับกระดูก เหล็กดาม ตะขอ และนอต เพื่อตรึงไว้ด้วยกัน


กระดูกสันหลังคดกายภาพ


ท่ากายภาพบำบัดกระดูกสันหลังคด


การกายภาพกระดูกสันหลังคด จะคล้ายกับการกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม หรือกายภาพของคนปวดหลัง โดยที่จะเน้นไปที่การยืดกล้ามหน้า บริหารส่วนหลังเป็นพิเศษ

1. ท่าเหยียดลำตัวไปด้านข้าง


แยกขาเท่าความกว้างของไหล่ ยกแขนข้างหนึ่งขึ้นเหนือศีรษะแล้วเอนตัวไปด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่ง เอนไปจนเริ่มรู้สึกตึงทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำทั้งสองข้างซ้ายขวา ข้างละ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3 เซต

 

2. ท่ายืนตรงกางแขน

ยืนตรงกางแขนออกทั้งสองข้าง ผ่อนคลายหน้าอกอย่าเกร็งและกางแขนไปด้านข้างให้มากเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ในท่ากาง10 วินาทีทำ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3 เซต

 

3. ท่าบิดลำตัวไปด้านข้าง


ยืนตรงกางแขนออกสองข้าง บิดลำตัวไปด้านข้างให้สุดจนรู้สึกตึง ค้างไว้ในท่าบิดตัวข้าง 10 วินาที ทำทั้งสองข้างซ้ายขวา ข้างละ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3

เซต

 

4. ท่าปรับแนวกระดูกสันหลังส่วนบน


อยู่ในท่าคลาน งอศอกขึ้นให้ระดับมือวางไว้ที่ใบหูเอียงตัวไปข้างให้รู้สึกตึงบริเวณกลางหลังส่วนบน ค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งสองข้างซ้ายขวา ข้างละ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3 เซต

 

5. ท่าโก่งหลังและแอ่นหลัง


อยู่ในท่าคลานค่อยๆแขม่วท้องโก่งหลังขึ้นให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆผ่อนหลังลงแอ่นหลังให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที โก่งหลังและแอ่นนับ 1 ครั้ง ทำ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3 เซต

 

6. ท่าคลานยกแขนขาสลับ



อยู่ในท่าคลานและยกแขนซ้ายไปข้างหน้าเหยียดขาขวาไปด้านหลังให้ตรงเท่าที่ทำได้ ค้างไว้ 10 วินาที สลับข้าง ทำทั้งสองข้าง ข้างละ 10 ครั้งต่อเซต ทำวันละ 2-3 เซต

 



Komentarze


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page