top of page

เอ็นข้อมืออักเสบกายภาพบำบัด ช่วยได้จริงไหม ลดอาการด้วยท่าบริการได้อย่างไร ?



เอ็นข้อมืออักเสบ เป็นอย่างไร


เอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้ง ทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน ส่งผลให้เกิดการเจ็บปวดบริเวณข้อมือด้านข้างหัวแม่มือ โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า เอ็นข้อมืออักเสบพบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ – กลุ่มคนทำงาน , ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ – ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid) – ผู้หญิงตั้งครรภ์


สาเหตุการเกิดเอ็นข้อมืออักเสบ


กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ

  • กลุ่มคนทำงาน , ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์, พนักงานบริษัทที่ต้องพิมพ์งานซ้ำๆ

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์

  • แม่บ้านที่ทำงานบ้าน บิดผ้าด้วยมือ

  • แม่ลูกอ่อน เนื่องจากการอ้อมเด็ก

  • แม่ครัว

  • ช่างไม้


ลักษณะอาการเอ็นข้อมืออักเสบ


ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดเจ็บตรงบริเวณเอ็นโคนนิ้วหัวแม่มือ โดยอาจปวดตึงไปตามแขน อาจมีอาการปวดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือค่อยเป็นค่อยไป บางรายอาจมีอาการชาที่นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ร่วมด้วย โดยอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นขณะใช้งาน เช่น การกำมือ เวลาหยิบ จับ ยกสิ่งของ หรือการออกแรงที่มือโดยตรง บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการบวมที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ


วิธีการสังเกตว่าเรามีภาวะเอ็นข้อมืออักเสบ หรือไม่

  1. เจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเมื่อขยับนิ้วโป้งมาที่กลางผ่ามือ

  2. เจ็บเมื่อกดบริเวณเอ็น ใต้รอยต่อข้อมือ ถัดจากโคนนิ้วโป้งลงมา

  3. มีการอักเสบของเอ็น หากคลำพบว่ามีผิวหนังร้อน หรือก้อนที่บริเวณข้อมือ

  4. กล้ามเนื้อที่ยึดต่อกับเอ็นนั้น อาจมีอาการเกร็ง แข็ง หรืออาจมีการอักเสบ


ท่าบริหารเอ็นข้อมืออักเสบ

การกายภาพเอ็นข้อมืออักเสบ อาจคล้ายกับ การกายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยจะเป็นการคล้ายเส้น และลดการอักเสบเป็นหลัก


ท่าที่ 1

ดัดข้อมือลงให้มาที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที สลับกับดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มาที่สุกค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 2

หงายมือขึ้น กำมือ แล้วค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยกลับไปตำแหน่งเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง


ท่าที่ 3

คว่ำมือลง กำมือ แล้วกระดกข้อมือขึ้น ค้าง 5 วินาที กระดกข้อมือลง ค้างอีก 5 วินาที


ท่าที่ 4

บีบวัตถุ เช่น บอลยาง ค้างไว้ 5 วินาที สลับกับคลายออก 10 ครั้ง


ท่าที่ 5

ตั้งฝ่ามือขึ้น แบมือเหยียดทุกนิ้วเป็นเส้นตรง งอทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้ง กดลงที่ฝ่ามือ ค้างไว้ 5 วิ คลายออก สลับกัน 10 ครั้ง


การวินิจฉัยอาการเอ็นข้อมืออักเสบ


หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์/ นักกายภาพบำบัด เพื่อรับการตรวจประมือและวินิจฉัย โดยการวินิจฉัยนั้นไม่จำเป็นต้องทำการตรวจด้วยการเอ็กซเรย์ หรือ การตรวจในห้องปฏิบัติการใดๆ


การวินิจฉัยทางกายภาพบำบัด


นักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมินการเคลื่อนไหวที่มือ และเอ็นข้อมือโดยละเอียด หากพบการอักเสบ ปวด บวมของปลอกหุ้มเอ็น หรือปวดตึงไปตามแขน ก็จะรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด และสอนการทำกายบริหาร เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือ เข้ารับการผ่าตัดแต่อย่างใด


การรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ


การรักษาโรคเอ็นอักเสบที่ข้อมือสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การทำกายภาพบําบัด เพื่อลดการอักเสบ ปวด บวม และคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

  • การรับประทานยา หากมีอาการปวดควรรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการบวมของเส้นเอ็น

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานมือข้างที่เจ็บ เพิ่มความระมัดระวังการใช้งานมือ หรือพยายามหยุดการใช้งานมือที่ปวด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ

  • การฉีดยา แพทย์จะทำการฉีดสารสเตียรอยด์ที่ปลอกหุ้มเอ็นที่มีอาการบวมเพื่อลดการอักเสบ และอาจมีการทำกายภาพเพื่อช่วยลดอาการเส้นเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ

  • การผ่าตัด หากการรักษาข้างต้นไม่เป็นผล แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน

ข้อควรระวัง


การผ่าตัดบริเวณนี้ต้องระวังเส้นประสาทที่จะทอดผ่านบริเวณแผลที่ผ่าตัด ถ้าเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บอาจมีอาการชาหรือปวดบริเวณข้อมือ หลังผ่าตัดแล้วยังมีอาการปวดอยู่

  • ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นไม่หมด (Incomplete release) เนื่องจากบริเวณนี้มีปลอกหุ้มเอ็นหลายอัน อาจจะผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นออกไม่หมด

  • เส้นเอ็นเคลื่อนหลุด (Tendon subluxation ) เนื่องจากเทคนิคผ่าตัดผิดวิธี ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนหลุด ทำให้เกิดอาการปวดหรือมีเสียงคลิก เวลาขยับนิ้วโป้ง


กายภาพบำบัดเอ็นข้อมืออักเสบ


การกายภาพบำบัด เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญในการรักษาภาวะเอ็นข้อมืออักเสบ เนื่องจากจะรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย เพื่อลดปวด อักเสบของเส้นเอ็น โดยลดการรับประทานยาและลดโอกาสเข้ารับการผ่าตัด โดยมีเครื่องมือดังนี้


  1. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้เกิดการหดคลายตัวของกล้ามเนื้อ ลดความตึงและลดอาการปวด

  2. คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound Therapy) ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อลดอาการปวด-อักเสบของเนื้อเยื่อ อาการบวม เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก

  3. เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser) ใช้ลำแสงเลเซอร์เพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวด และลดการอักเสบเฉียบพลันของเส้นเอ็น อีกทั้งลำแสงเลเซอร์ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมเส้นเอ็นส่วนนั้นๆอีกด้วย

  4. คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator; PMS) อาศัยคุณสมบัติความเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มากระตุ้นเส้นประสาท ช่วยลดอาการปวด อาการชา จากการทำงานผิดปกติของปลายประสาทให้ดีขึ้น

  5. การประคบร้อน-ประคบเย็น (Heat&Cold pack) ช่วยลดอาการปวด-อักเสบ ลดอาการบวมที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดแต่ละเครื่องมือจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่ใช้คลายความตึง ลดความปวด และคืนอิสระให้กับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ


สรุป


ภาวะเอ็นข้อมืออักเสบ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ขึ้นอยู่กับระยะอาการที่เป็น โดยหากเพิ่งเริ่มเป็นและรีบตัดสินใจมาทำกายภาพบำบัดก็สามารถลดการเสียดสีของเส้นเอ็น และลดการอักเสบได้ หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะทำให้ตัวคอลลาเจนไฟเบอร์ที่อยู่ในเส้นเอ็นเกิดการเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังและยากต่อการรักษา ดังนั้นหากกำลังคิดว่า กายภาพบําบัดที่ไหนดี ลองมาปรึกษาสรีรารักนะคะ







Comments


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page