ออฟฟิศซินโดรม โรคสุดฮิตของพนักงานออฟฟิศ เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขและบรรเทาอาการอย่างไร
ปัจจุบัน โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นหนึ่งในอาการที่คนส่วนใหญ่เริ่มเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตการทำงานที่หนักหน่วง ความเครียดสูง และมีความเร่งรีบ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่นั่งทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน และมักไม่ค่อยได้ใส่ใจดูแลเรื่องของสุขภาพตนเองมากนัก
แน่นอนว่า ส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรมสูง ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ พนักงานขับรถ พนักงานขายที่ต้องยืนตลอดทั้งวัน ฟรีแลนซ์ ฯลฯ ซึ่งมักจะมีสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมต่างๆจากร่างกายมาก่อน
แล้วแบบนี้ ออฟฟิศซินโดรมอาการ การรักษาเป็นอย่างไร สามารถใช้วิธีออฟฟิศซินโดรมกายภาพบำบัด หรือ มีท่าบริหารออฟฟิศซินโดรมง่ายๆ ที่ช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้ได้ไหม? มาค้นหาคำตอบไปกับสรีรารักได้ที่นี่
ออฟฟิศซินโดรม คือ
“ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?” ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่มักพบได้บ่อยในกลุ่มวัยทำงาน ที่มีพฤติกรรมการทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางการนั่งทำงาน การใช้กล้ามเนื้อบางส่วนอย่างหนักและเป็นเวลานาน รวมไปจนถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน เก้าอี้ที่ใช้ในการนั่งทำงาน แสงสว่าง ฯลฯ
จนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยส่วนต่างๆของร่างกาย และอาการของโรคอื่นๆตามมา ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง นิ้วล็อก เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลัง ฯลฯ
ออฟฟิศซินโดรม อาการ
อาการออฟฟิศซินโดรม มีดังต่อไปนี้
เกิดอาการปวดเรื้อรัง ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบักหลัง สะโพก
เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง
ออฟฟิศซินโดรมอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือไมเกรนก็เป็นได้
ปวดตา หรือ ตาแห้ง เนื่องจากใช้สายตามากจนเกินไป
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ บริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ เข่า ข้อเท้า
มีการกดทับปลายประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชาที่บริเวณบางส่วนของร่างกาย
เกิดโรคบางอย่างขึ้น เช่น นิ้วล็อค พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ ฯลฯ
สัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม
หลายๆคนอาจสงสัยว่า “เราสามารถสังเกตตนเองได้อย่างไรบ้าง ว่ากำลังจะเป็นออฟฟิศซินโดรม” เพื่อที่จะรักษาได้ตรงจุดและทันท่วงที
ในความเป็นจริงแล้ว มีสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมจากร่างกาย ที่คุณสามารถสังเกตก่อนเกิดโรคได้ ดังนี้
มีอาการปวดเรื้อรัง ปวดล้า หรือปวดร้าว ในบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดหัว ปวดตา คอ ไหล่ นิ้วมือ หลัง สะโพก ฯลฯ
ออฟฟิศซินโดรมอาการในบางราย อาจมีอาการปวด แต่ไม่สามารถระบุจุดที่ปวดได้ เนื่องจากปวดบริเวณกว้าง
มีอาการเหน็บชา โดยเฉพาะบริเวณขา
มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน ขณะทำงาน
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม
พนักงานออฟฟิศ เนื่องจากมีการขยับตัวค่อนข้างน้อย และนั่งอยู่ในลักษณะท่าทางเดิมนานจนเกินไป
อาชีพที่มีการใช้แรงงานเป็นประจำ หรือใช้แรงงานเป็นหลัก มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้หลายเหตุการณ์ เช่น การยกของไม่ถูกท่า หรือการยกของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป
นักกีฬา หรือผู้ที่มีการเล่นกีฬาเป็นประจำ เพราะอาจมีการออกแรงมากจนเกินไป ใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักบริเวณใดบริเวณหนึ่งนานๆ หรือกล้ามเนื้อและกระดูกได้รับการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน
พนักงานขาย เนื่องจากมีการยืนอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ในบางรายมีการใส่ส้นสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการปวดเมื่อยหรือเกร็งกล้ามเนื้อ
ฟรีแลนซ์ที่มีการใช้สายตามองหน้าจอเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งในบางรายอาจมีการนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอเกิดขึ้น
วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรม
รู้หรือไม่? เราสามารถแก้ออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยตนเองเบื้องต้น จากการทำสิ่งต่างๆเหล่านี้
ใช้อุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลืออาการปวดหรือเมื่อยล้า เช่น การทาครีมแก้ปวด แปะแผ่นเจลประคบบริเวณที่มีอาการปวด
ยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ มีการยืดกล้ามเนื้อในบริเวณที่มักจะปวดบ่อยๆ เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และช่วยทำให้กล้ามเนื้อไม่ถูกใช้งานหนักเป็นเวลานาน
ปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม สังเกตตนเองว่ามีพฤติกรรมใดที่เป็นปัญหา หรือเป็นต้นเหตุ เช่น ลักษณะท่านั่งที่ไม่เหมาะสม การใช้กล้ามเนื้อบางส่วนที่มากจนเกินไปเป็นระยะเวลานาน หรือเก้าอี้ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ระดับโต๊ะหรือการตั้งวางจอคอมพิวเตอร์
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายออฟฟิศซินโดรม มีความสัมพันธ์กัน การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีความแข็งแรงขึ้น เกิดความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้ โดยกิจกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ พิลาทิส หรืออย่าง โยคะแก้ออฟฟิศซินโดรมก็สามารถทำได้
ออฟฟิศซินโดรม รักษาได้อย่างไร
คำถามยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่มักอยากรู้หลังจากเริ่มมีอาการนำมาเบื้องต้นแล้ว ก็คือ ออฟฟิศซินโดรม รักษาได้อย่างไร? มีวิธีการอะไรบ้าง? แท้ที่จริงแล้วออฟฟิศซินโดรมรักษาได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีจัดกระดูกสันหลัง การนวดแผนไทย การฝังเข็ม การใช้ยา หรือวิธีที่มักได้รับความนิยมไม่แพ้กันกับศาสตร์อื่นๆ ก็คือ “การกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม”
ออฟฟิศซินโดรมกายภาพบำบัด เป็นการที่นักกายภาพบำบัดทำการประเมินอาการและระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้คำแนะนำถึงการปรับเปลี่ยนท่านั่ง และการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งในศาสตร์ของกายภาพบำบัด มีวิธีการรักษา การทำกายภาพบำบัด ดังนี้
การรักษาโดยใช้คลื่นกระแทก (Shockwave)
การกายภาพออฟฟิศซินโดรม โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่เรียกว่า คลื่นกระแทก(Shockwave) เป็นการรักษาอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งมีวิธีการคือ การส่งคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ ปวดเมื่อย เพื่อกระตุ้นการบาดเจ็บใหม่ ส่งผลให้ร่างกายซ่อมแซมตนเองและเกิดการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง
อีกทั้งวิธีการนี้ยังช่วยในเรื่องของการเพิ่มการไหลเวียนเลือด การลดอาการปวด อักเสบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอักเสบเรื้อรังของเอ็น พังผืดต่างๆ หรือการปวดจากอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Myofascial pain syndrome)
การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรมโดยการใช้วิธีกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า คือการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกลุ่มกล้ามเนื้อแต่ละมัด รวมไปจนถึงเส้นประสาท เพื่อก่อให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัว กระตุ้นการฟื้นตัวของปลายประสาท การไหลเวียนเลือด และชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อได้
การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)
การรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง คือ การปล่อยแสงเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อ เพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเหล่านั้น เกิดการซ่อมแซมบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ วิธีนี้สามารถช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นในระยะเฉียบพลัน บริเวณที่มีการอักเสบ หรือการปวดเรื้อรังได้
การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation)
การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า คือ นักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาโดยการวางเครื่องไว้ที่แขนหรือขาส่วนปลาย หรือเคลื่อนไปยังบริเวณส่วนต่างๆที่ต้องการรักษา ซึ่งวิธีการนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อและรากประสาท ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการชาปลายนิ้วมือหรือปลายเท้า และเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้
การดึงคอและกระดูกสันหลัง(Electric Traction Machine)
การดึงคอและกระดูกสันหลังไฟฟ้า คือ เครื่องมือที่สามารถช่วยดึงกระดูกเพื่อเพิ่มช่องของกระดูกคอและสันหลังได้นานอย่างต่อเนื่อง ลดการกดทับของเส้นประสาทได้ เหมาะสำหรับบางรายที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมและมีภาวะกล้ามเนื้อคอ หลังเกร็งตัว มีอาการปวดหรือชาจากการกดทับของเส้นประสาท หรือแม้แต่ผู้ที่มีภาวะหมอนรอบกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหรือกระดูกสันหลังเสื่อม ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
การอัลตราซาวด์(Ultrasound)
การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ คือ ใช้คลื่นเหนือเสียงความถี่สูง โดยการเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อนเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวด การอักเสบทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เยื่อหุ้มข้อต่างๆ สามารถปรับความต่อเนื่องของคลื่น และระดับความเข้มของคลื่นได้
ท่าบริหารออฟฟิศซินโดรม
แน่นอนว่า ไม่มีใครคนไหนที่อยากเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ในบางครั้งคนเราก็มีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการทำงาน การประกอบอาชีพต่างๆ ดังนั้น ทางสรีรารักจึงได้เตรียมท่าออกกำลังกายออฟฟิศซินโดรมหรือท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมดีๆมาให้ทุกคนได้ลองทำกันดู ดังนี้
ท่าที่ 1
ท่านี้สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณนั่งหลังตรง เริ่มจากการเอียงข้างประมาณ 45 องศาไปทางด้านซ้าย และใช้มือขวากดศีรษะค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 5-10 วินาที ทำต่อเนื่องกัน 5 ครั้ง และเปลี่ยนการเอียงข้างไปทางด้านขวา ใช้มือซ้ายในการกดศีรษะค้างไว้อีกประมาณ 5-10 วินาทีเช่นเดียวกัน
ท่าที่ 2
ท่านี้ให้คุณนั่งหลังตรง นำมือทั้ง 2 ข้างประสานกันไว้ที่ข้างหลัง จากนั้นใช้แรงยืดหัวไหล่เพื่อให้สะบักหลังเข้าหากัน และค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที
ท่าที่ 3
ท่าบริหารออฟฟิศซินโดรมท่านี้ ให้คุณนำมือประสานและเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปตรงๆ จากนั้นพยายามก้มตัวไปด้านหน้าให้เยอะๆ และค้างไว้ประมาณ 3 วินาที และคลายออก จากนั้นทำซ้ำอีกประมาณ 5 ครั้ง
ท่าที่ 4
ให้คุณนำขาข้างใดข้างหนึ่งพาดไว้บนขาอีกข้างคล้ายคลึงกับเลขสี่ จากนั้นก้มตัวมาข้างหน้า ทำค้างเอาไว้ประมาณ 3 วินาที ประมาณ 3-5 ครั้ง จากนั้นให้ทำการเปลี่ยนข้างและทำซ้ำดังเดิม
ท่าที่ 5
ในท่านี้ ให้คุณนั่งหลังตรง นำขาลงแตะพื้นทั้งสองข้าง จากนั้นให้คุณยกปลายเท้าขึ้นโดยส้นเท้ายังแตะพื้นอยู่ ต่อมาวางปลายเท้าลงและเปลี่ยนไปยกส้นเท้าขึ้น ทำซ้ำประมาณ 10-30 ครั้ง
ท่าที่ 6
ท่าต่อมา ให้คุณยกแขนขึ้น และงอข้อศอกประมาณ 90 องศา หันข้างไปฝั่งตรงข้ามกับแขนที่ถูกยกขึ้น จากนั้นหมุนไหล่ไปทางด้านหลังคล้ายคลึงกับรูปวงกลม
การป้องกันออฟฟิศซินโดรม
หากคุณยังไม่มีอาการเริ่มต้นของออฟฟิศซินโดรม คุณสามารถป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ จากการทำสิ่งเหล่านี้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และถูกหลักวิธี ไม่หักโหมจนเกินไป
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับความสูงของโต๊ะที่ต้องสัมพันธ์กับเก้าอี้ ระดับการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น จากการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน อาจเปลี่ยนเป็นการกำหนดระยะเวลาให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนท่าทาง หรือเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเป็นระยะ เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
หาอุปกรณ์ที่ช่วยซัพพอร์ตบริเวณหลัง เช่น หมอนรองหลัง
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อทำให้ร่างกายไม่เกิดการขาดสารอาหารหรือวิตามินต่างๆที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
สรุป
สรุปแล้ว โรคออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่ผู้คนมักจะเป็นกันบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับหน้าจอในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ใช้กล้ามเนื้อบางส่วนอย่างหนักเป็นประจำ โดยคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรมอาการจะมีลักษณะปวดเรื้อรัง ตาพร่า ตาแห้ง มีอาการเหน็บชาตามบริเวณต่างๆ ซึ่งก่อนที่จะเป็นโรค มักจะมีสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมนำมาก่อน
แน่นอนว่า เราสามารถใช้วิธีแก้ออฟฟิศซินโดรมในเบื้องต้นได้ เช่น การออกกำลังกาย โยคะแก้ออฟฟิศซินโดรม หรือการทำท่าบริหารออฟฟิศซินโดรม ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นก็ย่อมได้ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จนอาการเรื้อรัง โรคออฟฟิศซินโดรมรักษาได้หลากหลายศาสตร์ หนึ่งในศาสตร์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ การกายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม
ทางสรีรารัก ขอแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรม หมั่นสังเกตอาการและปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองให้ถูกวิธี เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ หรือเกิดการอักเสบขึ้น และหากมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง สามารถรักษาตรงจุดได้ที่ สรีรารัก เราพร้อมให้บริการและให้คำแนะนำสำหรับคุณ
Comments