top of page

ออฟฟิศซินโดรม รักษาด้วยกายภาพบําบัด ต้องรู้อะไรบ้าง



ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

เลือกหัวข้ออ่าน


ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร


ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งตัวงอ นั่งไขว่ห้าง หรือการก้มคอนานๆ ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นจากท่าทางที่คงค้างหรือขยับซ้ำ ๆ บวกกับในขณะสมองทำงานคิดงานคิดเรื่องต่าง ๆ จนทำให้เกิดความตึงเครียดกล้ามเนื้อจะยิ่งเพิ่มการหดเกร็งอัตโนมัติทันที เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งค้าง ขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการ ปวดคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาจจะปวดศีรษะร่วมด้วยคล้ายอาการปวดไมเกรน


นอกจากนี้โรคออฟฟิศซินโดรม อาจมีสาเหตุมาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น

  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ห่างเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกายเป็นต้น

  • สภาพร่างกายอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เป็นต้น

ใครมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง ?

คนทำงานออฟฟิศ ทำงานบริษัท สำนักงาน ลักษณะงานนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือนั่งเขียนหนังสือติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง รวมถึงการทรงท่าอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน เช่น ยืน ก้มหน้าใช้งานโทรศัพท์ จนแทบไม่ได้เคลื่อนไหว ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่ได้เกิดการเคลื่อนไหวเกิดการตึงและปวดตามมา


  • ผู้ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือ กลุ่มนักกีฬา อาจมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุจากการเคลื่อนไหว อาทิ การยกของผิดท่า การแบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป การกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ อักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้

ออฟฟิศซินโดรม แบบไหนที่อันตราย


หากมีภาวะออฟฟิศซินโดรมแต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่อาการดังนี้

  1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ สะบัก

  2. ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

  3. ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง

  4. ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ

  5. ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน

  6. มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้


วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรม

การทำกายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมแบบยั่งยืน โดยนักกายภาพจะเป็นผู้ตรวจประเมินความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย ประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบที่เป็นต้นตออาการปวดจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จากนั้นนักกายภาพจะอธิบายผลการตรวจร่างกายและวางแผนการรักษาให้ตรงกับสาเหตุและเหมาะสมกับสรีระของแต่ละบุคคล


โดยจะรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation) ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้เกิดการหดคลายตัวของกล้ามเนื้อ ลดความตึงและลดอาการปวด, คลื่นเหนือเสียง (ultrasound) ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อลดอาการปวด-อักเสบของเนื้อเยื่อ อาการบวม เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง


รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator; PMS) อาศัยคุณสมบัติความเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มากระตุ้นเส้นประสาท ช่วยลดอาการปวด อาการชา จากการทำงานผิดปกติของปลายประสาทให้ดีขึ้น, คลื่นกระแทก (Shock wave) ใช้การตอกคลื่นกระแทกบนก้อนกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งเรื้อรัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด, การประคบร้อน-ประคบเย็น (Heat&Cold pack) ช่วยลดอาการปวด-อักเสบ ลดอาการบวมที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดแต่ละเครื่องมือจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่ใช้คลายความตึง ลดความปวด และคืนอิสระให้กับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ


นอกจากนี้เพื่อการรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมที่ยั่งยืน นักกายภาพบำบัดจะสอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทรงท่าและการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) เช่น การเลือกใช้โต๊ะเก้าอี้ที่มีความสูงเหมาะสมกับสรีระ ควรปรับระดับการนั่งที่ถูกต้อง คือ นั่งหลังตรง ปรับจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา ป้องกันการก้มคอมากเกินไป การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) นี้ช่วยให้โครงสร้างต่างๆของร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนท่าทางทุกๆ 2 ชั่วโมง


เพื่อไม่ให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานจนก่อให้เกิดอาการปวด และนักกายภาพบำบัดจะสอนการออกกำลังกายทั้งแบบยืดเหยียด เพื่อบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีความยืดหยุ่นที่มากขึ้น และสอนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเนื้อเยื่ออีกด้วย


ท่าบริหาร แก้อาการออฟฟิศซินโดรม


ท่าบริหาร แก้อาการออฟฟิศซินโดรม

  1. ท่ายืดบ่า สามารถทำได้โดยการนั่งอยู่กับเก้าอี้ ใช้มือซ้ายจับศีรษะด้านขวา เอียงไปด้านข้างแล้วกดศีรษะลงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง×3 เซต จะช่วยคลายอาการ ปวดไหล่ ได้

  2. ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดตึงเนื่องจากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน วิธีการคือนั่งตัวตรงมองไปข้างหน้าแล้วเอียงคอไปทางไหล่ข้างขวาประมาณ 45 องศา ค้างไว้ 15 วินาที ใช้มือช่วยดึงรั้งศีรษะเพื่อยืดคอ จากนั้นสลับทำอีกข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง×3 เซต

  3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง ท่านี้จำเป็นต้องใช้เก้าอี้ออฟฟิศชนิดหมุนได้ และต้องมีพื้นที่เล็กน้อย เริ่มทำโดยการนั่งหลังตรง ยกขาขึ้นมาจากพื้นเป็นมุมฉาก เอามือทั้งสองข้างจับโต๊ะทำงานเอาไว้ จากนั้นหมุนตัวซ้ายขวาสลับกัน ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง×3 เซต เชต

  4. ท่าบริหารไหล่และหลัง นั่งหลังตรงบนเก้าอี้ นำมือขวาจับที่เข่าซ้าย จากนั้นหันลำตัวข้ามไหล่ด้านซ้ายเพื่อมองไปข้างหลัง ค้างไว้ 15 วินาที ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง×3 เซต

  5. ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าอก ลุกขึ้นยืนตัวตรง นำมือประสานกันที่ด้านหลัง แล้วค่อยๆ ยกขึ้นมาจนรู้สึกว่าตึง ค้างไว้ 15 วินาที ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง×3 เซต

รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบําบัด ราคาเท่าไหร่


การรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรม จะเน้นคลายความตึงตัวกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่าสะบัก เพื่อลดอาการปวด จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง โดยค่าใช้จ่ายเพียง 1,250 บาท


ปรึกษาการกายภาพบําบัด รักษาออฟฟิศซินโดรม


ในผู้ที่เริ่มมีอาการปวดตึงคอบ่าสะบัก ปวดศีรษะ หรือสงสัยว่าตัวเองนั้นมีภาวะออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ และกำลังหาว่ากายภาพบําบัดที่ไหนดี สามารถเข้ามารับคำปรึกษาที่สรีรารักคลินิกกายภาพบำบัดได้ทุกวัน โดยวันจันทร์-ศุกร์ จะเปิดให้บริการ 9.00-19.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ จะเปิดให้บริการ 9.00-18.00 น. *คลินิกหยุดทุกวันอังคาร*

การทำกายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมที่มีสาเหตุมาจากระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพจะเป็นผู้ตรวจประเมินความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย ประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบที่เป็นต้นตออาการปวดจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จากนั้นนักกายภาพจะอธิบายผลการตรวจร่างกายและวางแผนการรักษาให้ตรงกับสาเหตุและเหมาะสมกับสรีระของแต่ละบุคคล


รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบําบัด


การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การทำกายภาพบำบัดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวด, เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน จะทำให้เกิดการฟื้นฟูร่างกายแบบยั่งยืน


วิธีการรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุดคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การทำกายภาพบำบัดเพื่อเน้นคลายกล้ามเนื้อให้ตรงจุดปรับสมดุลของกล้ามเนื้อที่มีความสัมพันธ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร


สรุป

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) อาจไม่ใช่โรคหรือการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและข้อต่อส่วนอื่นๆ ก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งกระทบต่อความสุขการใช้ชีวติและประสิทธิภาพการทำงานได้


ดังนั้นหากเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบมาปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หาสาเหตุอาการและวางแผนการรักษา เพื่อจัดสมดุลของโครงสร้างร่างกาย และการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดอย่างเหมาะสม





Comments


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page