top of page

กายภาพบำบัดขาอ่อนแรง ทำอย่างไร ฟื้นฟูตัวเองอย่างไร


กายภาพบำบัดแขนขาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง คืออะไร


แขนขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยเป็นปัญหากับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหยิบจับลุกเดินเหมือนอย่างปกติ สาเหตุของปัญหา เช่น ภาวะหลอดเลือดสมอง(stroke) หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภาวะผู้ป่วยติดเตียงจากโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่มีภาวะเคลื่อนไหวน้อย กายภาพบำบัดแขนขาอ่อนแรงสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้ป่วยขาอ่อนแรงจากเกือบทุกสาเหตุสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด


สาเหตุของแขนขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง

1. ขาอ่อนแรงจากระบบเส้นประสาท เกิดจากความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

2. ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ เกิดความผิดปกติโดยตรงกับกล้ามเนื้อขาโดยตรง เช่น กล้ามเนื้อขาฝ่อลีบ จากการไม่ได้ใช้งาน

สัญญาณเตือนเมื่อมีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงต้องรีบมาโรงพยาบาลทันทีคือ เดินปลายเท้าตก ยกขาไม่พ้นพื้น อาจจะมีภาวะหลอดเลือดสมองซึ่งถ้าเข้ารับการรักษาช้า เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้


อาการขาอ่อนแรงอันตรายไหม อาการขาอ่อนแรงเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ ระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อ

หากเกิดจากระบบประสาทจะค่อนข้างรุนแรงเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้หากมีอาการขาอ่อนแรงร่วมกับอาการเหล่านี้เช่น พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว แขนขนชา เดินเซ ปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เป็นมาก่อนให้รีบไปพบแพทย์ทันที


ใครบ้างที่ควรทำท่าบริการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

  • ผู้สูงอายุติดเตียง

  • ผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก และข้อเข่า

  • กลุ่มคนทุกวัยที่ประสบอุบัติเหตุมีกระดูกหักบริเวณ สะโพก กระดูกเชิงกราน กระดูกขาและข้อเท้า

  • กลุ่มคนทุกวัยที่ไม่ออกกำลังกาย

กลุ่มคนที่เป็นโรคในกลุ่มเสี่ยงกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

  • โรคเส้นเลือดสมองตีบแตก

  • โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • โรคกระดูกสันหลังคด

  • โรคเบาหวาน

  • โรคความดันโลหิตสูง

  • โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

  • โรคกระดูกข้อสะโพกเสื่อม

  • โรคกระดูกข้อเท้าเสื่อม

  • โรคข้อเข่าเสื่อม

การทำท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง


ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 1


ผู้ป่วยนอนหงาย ยกขาทีละข้างขึ้นสุดเท่าที่ทำได้และค่อยผ่อนขาลง ช้า ๆ ทำ 10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต

กายภาพบำบัดขาอ่อนแรง

ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 2


ผู้ป่วยนอนหงายกางขาออกทีละข้างกางสุดเท่าที่ทำได้และค่อยหุบขาเข้าช้า ๆ ทำ10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต


ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 3


ผู้ป่วยนอนหงายงอเข่าขี้นลงทีละข้างงอเข่าสุดและเหยียดเข่าสุด ค่อยๆ งอและเหยียด ช้า ๆ ทำ10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต


ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 4


ผู้ป่วยนอนหงายงอเข่าขึ้นสองข้างบิดสะโพกและขาไปด้านข้างลำตัวซ้ายสุดและขวาสุดช้า ๆ ทำข้าง 10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต

กายภาพบำบัดขาอ่อนแรง

ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 5


ผู้ป่วยนอนหงายกระดกข้อเท้าขึ้นสุดกระดกข้อเท้าลงสุดช้า ๆ ทำข้าง 10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต


ท่าบริการสำหรับอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงท่าที่ 6


ผู้ป่วยนอนหงายชันขาสองข้างเกร็งยกสะโพกขึ้นค้างไว้ 10วินาที ค่อยๆ ผ่อนสะโพกลงช้าจนถึงพื้น ทำซ้ำ10 ครั้ง ต่อเชต ทำ 3 เชต

กายภาพบำบัดขาอ่อนแรง


วิธีกายภาพบำบัดขาอ่อนแรง

ขั้นตอนแรกจะมีการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของอาการอ่อนแรง เช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทร่วมกับมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทที่เลี้ยงขา แต่ยังมีการวินิจฉัยอื่น ๆ เช่น การทำCT สมองดูปัญหาเรื่องหลอดเลือดสมอง


การตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดเพื่อตรวจกำลังกล้ามเนื้อขาและวินิจฉัยความรุนแรงว่ามีการอ่อนแรงเท่าใด โดยการให้ออกแรงขาต้านสู้แรงกับผู้ตรวจ นักกายภาพจะตรวจกำลังกล้ามเนื้อขาทุกมัดอย่างละเอียด


เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ทำหน้าที่แทนกระแสประสาทไปสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานกระตุ้นการหดตัวคลายตัว เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นเส้นประสาทที่เสียหายจะค่อยๆฟื้นตัวกลับมาสั่งการได้ร่วมกับการออกกำลังกายท่าบริหารป้องกันข้อติด และป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อขา


เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อชั้นลึกและเหนี่ยวนำเส้นประสาทสั่งการให้กล้ามเนื้อให้ทำงานอัตโนมัติทำให้เกิดฟังก์ชั่นของกล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว ขยับข้อต่อบริเวณนั้น กระตุ้นกลไกการรับความรู้สึกข้อต่อและกล้ามเนื้อได้ดี


การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เช่นการใช้ถุงทรายถ่วงน้ำหนักที่ขาขณะเคลื่อนไหวช่วยเพิ่มแรงต้านให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ให้เริ่มจากน้ำหนักน้อยไปหามาก อาจจะเริ่มจาก 0.5 กิโลกรัมก่อนและค่อย ๆ เพิ่มตามความสามารถหลังจากออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอาจจะมีภาวะกล้ามเนื้อ ล้า ระบมได้บ้างเป็นเรื่องปกติ ให้ผู้ป่วยฝืนทำไปเรื่อย ๆ ทุกวันโดยไม่ทิ้งช่วงการออกกำลังกายประมาณ 3 สัปดาห์กล้ามเนื้อปรับตัวได้ภาวะล้า ระบมค่อยๆหายไปจนเป็นปกติ


กายภาพบำบัดขาอ่อนแรงแล้วสามารถเดินได้เป็นปกติไหม ?


การทำกายภาพบำบัดขาอ่อนแรงสามารถกลับมาเดินปกติได้ ขึ้นอยู่ความรุนแรงของสาเหตุของอาการอ่อนแรงขา ถ้าผู้ป่วยที่มีภาวะไม่รุนแรงมากและได้รับการทำกายภาพบำบัดขาอ่อนแรงได้ในช่วงเวลาที่เพิ่งพบอาการอ่อนแรงช่วงแรก กายภาพบำบัดขาทุกวันสม่ำเสมอ ผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีในการฟื้นฟู ทำตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด กล้ามเนื้อจะสามารถกลับฟื้นคืนกำลังกล้ามเนื้อได้ดีจนสามารถกลับมาเดินได้ปกติ แต่ในบ้างคนที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน หากทิ้งช่วงการรักษาไว้นานหรือไม่ได้ทำกายภาพบำบัดเลยจะเกิดกล้ามเนื้อฝ่อลีบและเกิดภาวะข้อติดแข็ง โอกาสการกลับมาเดินได้เป็นปกติน้อยมาก


สำหรับใครที่มองหา กายภาพบำบัดที่ไหนดี กายภาพที่ไหนรักษาขาอ่อนแรงได้ ลองติดต่อปรึกษาสรีรารักคลินิกได้นะคะ


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
  • Facebook Social Icon
  • Line
สรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด

77/6  หมู่ที่ 1  ซ. แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 47

ถ. แจ้งวัฒนะ ต. คลองเกลือ อ. ปากเกร็ด

จ. นนทบุรี 11120

โทร: 096-515-4692

Email : sarirarak@gmail.com

Line id : @sarirarak

แผนที่
ติดต่อ-นัดหมาย

Success! Message received.

Copyright © 2022 Sarirarak Co.,.Ltd.

bottom of page