top of page

“นิ้วล็อก”..โรคฮิตยุคดิจิทัล เกิดจากอะไร นิ้วล็อคมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง


เคยไหม? จู่ๆก็งอนิ้วไม่ได้ จะกำมือหรือเหยียดนิ้วมือก็ไม่ค่อยถนัด ไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่? ในปัจจุบัน มีหลายๆคนเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้นอีกเป็นวงกว้าง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

อาการเหล่านี้เรียกว่า “นิ้วล็อค” ซึ่งหลายๆคนเมื่อเริ่มเป็นในระยะแรกๆแล้ว กลับเลือกที่จะปล่อยทิ้งไว้ จนอาการพัฒนาเข้าสู่ในระยะรุนแรง อาจเป็น ออฟฟิศซินโดรม ได้อีกด้วย จะดีกว่าไหม? ถ้าเราใช้วิธีแก้นิ้วล็อคโดยการกายภาพนิ้วล็อค จากท่าบริหารนิ้วล็อคหรือใช้วิธีนวดนิ้วล็อคด้วยตนเองก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น


ดังนั้น วันนี้ทางสรีรารักจะมาบอกเล่าข้อมูลที่ใครหลายๆคนอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับนิ้วล็อคไม่ว่าจะเป็นนิ้วล็อคเกิดจากอะไร? หากเป็นนิ้วล็อครักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง? แล้วถ้าเป็นในระยะที่เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว การเป็นนิ้วล็อคผ่าตัดดีไหม? ค่ารักษาเท่าไหร่? ไปค้นหาคำตอบพร้อมๆกันได้ที่นี่เลย


โรคนิ้วล็อค คืออะไร


โรคนิ้วล็อก คือ โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อ และกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือ และแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น และอาการนิ้วล็อกจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืด หรืองอได้ตามปกติ

นิ้วล็อกเกิดได้จากอะไร

1. การใช้งานมากทำให้เอ็นโคนนิ้วอักเสบ เช่น อาชีพแม่บ้านหิ้วของหนักๆ คั้นน้ำส้ม ซักผ้า บิดผ้า หรือพนักงานออฟฟิศ ที่พิมพ์งานตลอดเวลา เป็นต้น 2. ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ไขมันใต้ฝ่ามือหายไปเกิดพังผืดมายึดแทน มักพบเป็นทีละนิ้ว หรือ บางทีเป็นหลายๆ นิ้วพร้อมกัน เนื่องจากการใช้งานมาก ส่วนนิ้วก้อยจะพบน้อย 3. สภาวะการเจริญของเนื้อเยื่อของกระเปาะเอ็นเจริญไม่สัมพันธ์กัน มักพบในเด็กเล็กๆ พบบ่อยที่สุดคือนิ้วโป้ง


นิ้วล็อคมีอาการอย่างไร

นิ้วล็อคอาการโดยทั่วไป ในระยะแรกอาจสังเกตได้จากการปวดตึงบริเวณโคนนิ้วมือ แต่ยังไม่เกิดอาการล็อคเกร็งขึ้น เมื่อเข้าสู่ระยะถัดมา จะเริ่มรู้สึกถึงอาการสะดุดหรือไม่สะดวกเวลามีการขยับนิ้ว กำนิ้วมือหรือเหยียดนิ้วมือออกเหมือนดั่งปกติ และเมื่ออาการเริ่มเข้าสู่ระยะที่รุนแรงขึ้น จะเกิดปัญหาเรื่องของอาการล็อคเกร็งเวลางอนิ้วหรือกำมือจนไม่สามารถคลายมือออกได้ นอกจากใช้มืออีกข้างช่วยดึงนิ้วมือออก หรือต้องสะบัดมืออย่างรุนแรงจึงจะสามารถออกมาได้



นิ้วล็อคอาการขั้นรุนแรง จะเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ที่เป็นจะประสบปัญหาการยึดติดแข็งของข้อนิ้ว มีการอักเสบและบวมร่วมด้วย จนส่งผลให้ไม่สามารถขยับนิ้ว งอนิ้ว หรือเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ ซึ่งในบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด


ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 : เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการปวด กดเจ็บ

  • ระยะที่ 2 : นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้

  • ระยะที่ 3 : นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง

  • ระยะที่ 4 : นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ


วิธีแก้นิ้วล็อค


หลายๆคน อาจมีความสงสัยว่า “นิ้วล็อคแก้ยังไง?” จริงๆแล้ว การแก้นิ้วล็อคแก้ง่ายนิดเดียว โดยเบื้องต้น ในกรณีที่อาการอยู่ในระยะแรกเริ่ม หรืออาการไม่มีความรุนแรงมากนัก อาจใช้วิธีการประคบร้อน นำมือไปแช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้มีระยะพักนิ้วมือ เพื่อไม่ให้ทำงานหนักหรือต่อเนื่องจนเกินไป และเพื่อลดความเสี่ยงที่ปลอกหุ้มเอ็นจะเกิดการอักเสบขึ้นได้



รักษาอาการนิ้วล็อค


“นิ้วล็อครักษาอย่างไร?” การรักษานิ้วล็อคจะแบ่งตามระยะอาการความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้

ระยะแรกเริ่มไปจนถึงระยะสอง อาจมีการรักษาโดยการรับประทานยากลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวดบวม หรือการอักเสบบริเวณนั้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มีระยะเวลาในการพักมือขณะที่ทำงาน รวมไปจนถึงการ กายภาพบำบัดเบื้องต้น อย่างการนำมือแช่ในน้ำอุ่น ประคบร้อน และทำท่าบริหารนิ้วล็อคหรือกายภาพนิ้วล็อคด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้าง

ความแข็งแรงให้กับบริเวณนั้น


ในระยะที่สามไปจนถึงระยะรุนแรง จะมีการรักษาโดยการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์แบบเฉพาะที่ เข้าไปที่บริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็นเพื่อลดอาการบวมอักเสบของเส้นเอ็น ซึ่งวิธีนี้อาจได้ผลลัพธ์ที่ทำให้ดีขึ้นในระยะหนึ่ง และกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ จึงไม่ควรฉีดยานี้เกิน 2 ครั้ง เนื่องจากอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือขาดได้


บางรายที่เป็นนิ้วล็อคระยะรุนแรงและรักษาด้วยวิธีต่างๆแล้วไม่ได้ผล อาจต้องพิจารณาการเข้ารับการผ่าตัด โดยการฉีดยาชา และตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นให้มีพื้นที่กว้าง ทำให้เส้นเอ็นสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้สะดวก งอนิ้วได้เป็นปกติ ไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งปกติแล้ว นิ้วล็อคผ่าตัดไม่นาน และสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังผ่าตัดเสร็จสิ้น



การดูแลหลังผ่าตัดนิ้วล็อค


ถึงแม้ว่าหลังจากผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถงอนิ้วได้ทันทีเลยก็ตาม แต่เราก็ยังจำเป็นต้องมีการดูแลตนเองหลังผ่าตัดนิ้วล็อคอีก ซึ่งวิธีการที่ดี คือ การกำมือบ่อยๆ งอนิ้วหรือเหยียดนิ้วมือให้สุด หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ และงดการใช้งานบริเวณนั้นหนัก รวมไปจนถึงการสัมผัสแผลผ่าตัด ประมาณ 2 สัปดาห์


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากผ่าตัดนิ้วล็อค

  • เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด

  • แผลอาจเกิดการอักเสบหรือบวมได้

  • ในช่วงระยะแรกหลังการผ่าตัด อาจมีอาการปวดบริเวณที่เข้ารับการผ่าตัดได้


การป้องกันอาการนิ้วล็อค

  • หลีกเลี่ยงการหิ้วของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป หากมีความจำเป็นควรใช้วิธีอุ้มประคอง หรือใช้อุปกรณ์อื่นๆเข้ามาช่วย เช่น การนำผ้าขนหนูมารอง การนำไปใส่รถเข็น เป็นต้น

  • เมื่อทำงานที่ต้องใช้นิ้วมือ ควรมีระยะพักเพื่อไม่ให้นิ้วมือถูกใช้งานหนักเป็นเวลานาน


มีการทำกายภาพนิ้วล็อค หรือทำท่าบริหารนิ้วล็อคอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างความแข็งแรงในบริเวณนั้นๆ

  • หากมีความจำเป็นต้องจับสิ่งของ หรือวัตถุอื่นๆอย่างแน่น ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยลดแรงกดกระแทก หรือการเสียดสีต่อนิ้วมือ เช่น การใช้ถุงมือ ผ้าที่เอาไว้พันรอบวัตถุที่มีลักษณะนุ่มๆ

  • หมั่นแช่มือลงในน้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นๆ หรือประคบร้อน เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือดีขึ้น ผ่อนคลายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ

  • ควรหลีกเลี่ยงการซักผ้าหรือบิดผ้าด้วยมือ เนื่องจากเป็นการใช้เส้นเอ็นที่มากจนเกินไป


สรุป


ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น อาการนิ้วล็อคเกิดจากการใช้นิ้วมืออย่างหนักเป็นเวลานาน จนทำให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นเกิดการอักเสบขึ้น แน่นอนว่าวิธีแก้นิ้วล็อคในเบื้องต้นมีมากมายหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกายภาพนิ้วล็อค การใช้เครื่องนวดนิ้วล็อค ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนเลือกใช้ อาการนิ้วล็อคเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้นิ้วล็อคอาการระยะรุนแรงขึ้น จนจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด



ทางสรีรารัก ขอแนะนำว่า ทุกคนควรดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีการทำท่าบริหารนิ้วมือเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น เสริมสร้างความแข็งแรง และลดโอกาสในการเกิดโรคนิ้วล็อค หากมีอาการมากขึ้น ควรเข้ารับการรักษาที่ตรงจุด ได้ที่สรีรารัก เราพร้อมให้คำแนะนำเพื่อคืนอิสระในการเคลื่อนไหวให้แก่คุณ


ใครที่กำลังมองหา กายภาพบำบัดที่ไหนดี ฝากพิจาราณาสรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัดไว้ด้วยนะคะ

--------------------------------------------------------

#ปวดเมื่อยเรื้อรัง #รักษาให้ตรงจุด #ที่สรีรารักคลินิกกายภาพบำบัด

#ปวดคอ #ปวดคอบ่า #ปวดคอบ่าไหล่ #นิ้วล็อก #ปวดข้อมือ

.

📍 คลินิกอยู่ติดถนนแจ้งวัฒนะ : ปากซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 47

🚙 มีที่จอดรถหลายคัน

🕘 เปิด 9:00 - 20:00 น. (หยุดวันอังคาร)

📳 096-515-4692

🆔 Line : @sarirarak

🌐 www.sarirarak.com

💳 ยินดีรับบัตรเครดิต ไม่ชาร์จค่ะ


Comments


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page